top of page

งานนิทรรศการ"เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทรรศวรรษ 1960"

26/04/2018

"โตเกียว กรุงเทพฯ : สร้างบ้านเปลี่ยนเมืองอย่างยั่งยืนได้อย่างไร"

ท่ามกลางความผันผวนไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพอากาศหรือการเมือง โจทย์หนึ่งในการออกแบบเมืองคือ “Resilience” หรือออกแบบอย่างไรให้เมือง “ยืดหยุ่น” ล้มแล้วลุกได้จากความผันผวนต่างๆ เพื่อการมองอนาคตเราลองเรียนรู้จากอดีต เพราะความจริงแล้วโจทย์ Resilience ไม่ใช่โจทย์ใหม่เลย ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติจึงพาเราย้อนไปดูตัวอย่าง Metabolism Movement ที่เป็นที่นิยมในยุค 60s ของญี่ปุ่นหรือยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟูและกำลังสร้างตัวอีกครั้งหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแนวคิดนี้เชื่อว่าเมืองเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการออกแบบเมืองก็ต้องสามารถรับรองความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เช่นกัน ในช่วงยุคนี้เองที่สถาปนิกที่มีชื่อเสียงเสนอแผนการออกแบบเมืองโตเกียวในสเกลใหญ่ ที่โด่งดังและเลื่องลือถึงทุกวันนี้คือ “Plan for Tokyo – 1960” ของ Kenzo Tange และ “Cities in the Air” ของ Arata Isozaki

ทว่า แผนทั้งสองเป็นแผนที่เปลี่ยนแปลงในระดับใหญ่และ Utopia มาก สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถนำมาสร้างได้จริงหรือไม่มีความยืดหยุ่นตามทฤษฎีว่า ในความเป็นจริงโตเกียวก็พัฒนาไปเป็นส่วนๆ แต่ก็ยังสามารถคงความใช้ได้จริงอยู่ได้ จากบทเรียน Metabolism Movement ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าการดำเนินการวางผังเมืองตามภาพในอุดมคติเป็นวิธีที่ไม่ได้ผลจริง แล้วท่ามกลางสภาวะโลกร้อนและสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ เราควรออกแบบเมืองอย่างไรให้ยืดหยุ่นและใช้ได้จริง?

ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผอ.ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ในงานนิทรรศการ"เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทรรศวรรษ 1960" 

ในวันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 17: 30 น. ณ ท้องพระโรง หอศิลป์มหาวิทยาลัย ศิลปากร (วังท่าพระ)

bottom of page