top of page

Lecture

P-15.JPG

เรียนรู้วิถีกะดีจีน-คลองสานผ่านผังเมือง

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมกับ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน และภาคีพัฒนาเมือง ร่วมจัดการเรียนการสอนรายวิชา Neighborhood Planning Studio สตูดิโอวางผังชุมชน"

 

หลายครั้งที่ความเจริญของระบบคมนาคมนำความสะดวกสบายมาให้ชุมชน แต่อีกด้านคือวิถีชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นที่มาของห้องเรียน "Neighborhood Planning Studio สตูดิโอวางผังชุมชน" ที่มองว่าผังเมืองต้องช่วยส่งเสริมวิถีดั้งเดิม มี "วีรพร นิติประภา" นักเขียนผู้ใช้ชุมชนสามศาสนาสี่ความเชื่อเป็นฉากหลังในผลงานดีกรีซีไรต์ มาร่วมเล่าความประทับใจและสะท้อนความเป็นอยู่ของชุมชนกะดีจีน-คลองสาน

117348125_1995939680538976_4727925486805

ความเป็นย่านกับการพัฒนาเมืองในอนาคต

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมเวทีเสวนา “บ้าน-ร้าน-ย่าน-เมือง”  จัดโดย ใจบ้านสตูดิโอ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ และคณะกรรมการพัฒนาเมืองเก่าเชียงใหม่ภาคประชาชน ณ ลานกิจกรรม หน้าห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียง หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ โดยบรรยายในหัวข้อ ความเป็นย่านกับการพัฒนาเมืองในอนาคต

P-14.JPG

กรุงเทพมหานครกับการพัฒนาเป็นเมืองสุขภาวะ

คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) บรรยายพิเศษ "กรุงเทพมหานครกับการพัฒนาเป็นเมืองสุขภาวะ" ในโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2563 ผ่านการบรรยายออนไลน์ โดยภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)(GeoSWU Talks 2020) เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 63 ที่ผ่านมา ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.ปกรณ์ เมฆแสงสวย ภาควิชาภูมิศาสตร์ มศว

P-13.JPG

เมืองนี้มีที่ทำกินให้กับคนทุกคน

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) นำเสนอข้อเสนอเชิงออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่เมือง โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมกับ รศ.ดร.นฤมล​ นิราทร​ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  อ.ดร.ปาริษา​ มูสิกะคามะ​ คณะสถาปัตยกรรม​ศาสตร์​ มหาวิทยาลัยรังสิต​ ดร.บวร​ ทรัพย์สิงห์​ สถาบันวิจัย​สังคม​ จุฬา​ลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณ​พูนทรัพย์​ สวนเมือง ตุลาพันธ์ HOMENET เสนอต่อรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร เพื่อเน้นย้ำว่า กรุงเทพฯ ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสและโอกาสนั้นมีอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมให้ทุกคน โดยเฉพาะโอกาสในการทำกินและการประกอบสัมมาอาชีพ

image.jpg

The Skypark on Time Out Tokyo

Time Out Tokyo นำเสนอโครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา โดยกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวงชนบท และภาคีพัฒนา ซึ่งเปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว โดยพูดคุยถึงแรงบันดาลใจเบื้องหลังความสำเร็จโครงการ กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หัวหน้าทีมออกแบบโครงการ และหัวหน้าโครงการกรุงเทพฯ 250

3.1.jpg

The Skypark on World Economic Forum

โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ได้รับความสนใจจาก  World Economic Forum นำเสนอในฐานะโครงการสวยลอยฟ้าที่ปรับปรุงจากโครงสร้างรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำ ซึ่งทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์กว่า 30 ปี ฟื้นฟูเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการสัญจร ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจย่าน 

 

โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา เป็นโครงการยุทธศาสตร์​จาก​ Bangkok250​ ของกรุงเทพมหานคร​ ผลักดันต่อเนื่องยาวนาน​ 5 ปีจนสำเร็จ​ได้ด้วยฝีมือกรุงเทพมหานคร ร่วมมือกับ​กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม​ คณะผู้ศึกษา​ประกอบด้วย​ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS),  LANDPROCESS, N7A และภาคีร่วมพัฒนาหลายภาคส่วน

1.jpg

THE SKYPARK ROCKS THE REUTERS

สำนักข่าวรอยเตอร์ส (Reuters) รายงานข่าวโครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา  โครงการฟื้นฟูโครงสร้างรางรถไฟลอยฟ้าทิ้งร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา อายุกว่า 3 ทศวรรษ สู่พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ  ซึ่งมีเป้าหมายสร้างการเชื่อมต่อของเมืองข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากโดยรอบโครงการ

 

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้วิสัยทัศน์เดินหน้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองและป้องกันผลกระทบจากสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง

83048576_1919166454882966_70161384831650

บ้านเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งยังไม่พอ แต่ย่านต้องดีด้วย

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UddC-CEUS ร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะเรื่องเมืองหลังโควิด-19 บนเวที The Standard Economic Forum  ชี้ “ย่านละแวกบ้าน” เป็นปัจจัยสำคัญของการกักตัวในภาวะโรคระบาด การสร้างย่านละแวกที่มีโครงสร้างการสัญจรด้วยการเดินเท้า เพื่อให้คนเข้าสาธารณูปการพื้นฐานของเมืองในระยะเดินถึง ทั้งนี้ เพื่อเอื้อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจขนาดย่อยของเมือง และเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง อบอุ่น มั่นคง ในย่านที่ตนอาศัย

 

"ย่านคือพื้นที่ที่บ้านหลายๆบ้าน คนหลายๆคน ได้ใช้ชีวิตกับสาธารณูปโภค การค้าขายอาหารที่ง่าย ถูกปาก สะอาด และทำกิจกรรมพื้นฐานของชีวิตได้อย่างไม่ลำบาก ควรเป็นพื้นที่สีเขียวเพียงพอ ที่จะเอื้อให้คนได้ใช้ชีวิต แม้ในยามภัยพิบัติ หรือโรคระบาด ย่านก็จะช่วยเราใช้ชีวิตได้เช่นกัน" ผศ.ดร.นิรมล

P-11.JPG

UddC x ZERO COVID Project

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมพูดคุยกับตัวแทนองค์กรด้านการออกแบบของประเทศไทยใน ZEROCOVID LIVE TALK ครั้งที่ 5 ตอน “โลกหลังโควิด” ทางเพจ ZERO COVID Project

P-10.JPG

โฟนอินวิทยุครอบครัวข่าวประเด็น “พื้นที่อาหารคนเมือง"

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คุยกันเช้านี้” วิทยุครอบครัวข่าว 3 ดำเนินรายการโดยคุณนิธินาฎ ราชนิยม นำเสนอแนวคิดการออกแบบพื้นที่อาหารของเมืองในยุค New Normal  วิถีชีวิตปกติในรูปแบบใหม่ตามมาตรการสาธารณสุขของรัฐ

 

ผู้อำนวยการ UddC-CEUS เสนอเกณฑ์การออกแบบเชิงพื้นที่ให้บริการโดยยึดมาตรการทางสาธารณสุขและมาตรการของรัฐ พร้อมกับคำนึงถึงความหนาแน่น (density) การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (social distancing) การวางระบบโซน (zoning) ระบบการหมุนเวียนภายในร้าน (circulation) ระบบถ่ายเทอากาศ (ventilation) และการลดการสัมผัส (contactless) เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคทั้งทางตรงและทางอ้อม

P-09.JPG

UddC-CEUS ย้ำหลักการออกแบบ วางผังและบริหารจัดการพื้นที่อาหารของเมือง

คุณปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Design and Development ร่วมบันทึกเทปรายการ Thailand Today ทางสถานีโทรทัศน์ NBT World ณ สตูดิโอกรมประชาสัมพันธ์ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ โดยคุณกุสุมา โยธาสมุทร ผู้ดำเนินรายการสัมภาษณ์ในประเด็น  Urban Food Place พื้นที่อาหารของเมือง ซึ่งเป็นแนวคิดการออกแบบของ UddC-CEUS ในภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ผู้ประกอบการในกิจการอาหารและผู้ค้าหาบเร่แผงลอย สามารถกลับมาสร้างรายได้เลี้ยงปากท้องได้อีกครั้ง โดยคุณปรีชญาได้เน้นหลักการออกแบบที่สำคัญ 3 ประการ คือ การรักษาระยะห่าง ความหนาแน่น และ ลดการติดต่อระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับสิ่งของในพื้นที่

P-08.JPG

Urban Forest : ออกแบบเมืองอย่างไร เพื่อชะลอการตาย

รายการ Sasin Talk คุยทุกเรื่อง เรื่องสิ่งแวดล้อม ตอน Urban forest ออกแบบเมืองอย่างไร เพื่อชะลอการตายของคนให้ได้มากที่สุด ดำเนินรายการโดย ศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร สัปดาห์นี้พูดคุยกับกับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ในประเด็น: ออกแบบเมืองอย่างไรให้ป่าไม้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน และความเป็นไปได้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับคนกรุงเทพฯ

P-07.JPG

UddC-CEUS เสนอภาครัฐ บริหารจัดการพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย-หาบเร่แผงลอย

รายการ วันใหม่ ไทยพีบีเอส เผยแพร่บทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CUES) และ คุณปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย Urban Design and Development ในประเด็น การบริหารจัดการพื้นที่อาหารของเมือง รับมาตรการผ่อนปรนกิจการประเภทอาหาร ในระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โรคโควิด-19 ซึ่งเริ่มต้นดีเดย์คลายล็อกไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา

 

ผู้อำนวยการ UddC-CEUS เสนอภาครัฐ บริหารจัดการพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย-หาบเร่แผงลอย เพื่อแก้ปัญหาปากท้องของคนเมืองอย่างยั่งยืน  อาทิ การจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมที่ทำให้ผู้ประกอบการด้านอาหารสามารถสร้างรายได้ และสามารถกลับมาให้บริการเมืองได้ใกล้เคียงกับปกติ ขณะที่ผู้บริโภคก็สามารถเข้าถึงและจับจ่ายอาหารราคาประหยัดได้ในละแวกบ้าน-ละแวกย่าน ทั้งนี้ การบริการจัดการด้านอาหารจำเป็นต้องยึดหลักสุขอนามัยและความปลอดภัยของเมืองเป็นหลัก ขณะเดียวกัน ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้และรายจ่ายของคนเมืองด้วย

P-06.JPG

Thai PBS นำเสนอแนวคิดการออกแบบพื้นที่อาหารของเมืองโดย UddC-CEUS

แนวคิดของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ในการออกแบบและจัดการพื้นที่อาหารของเมือง อาทิ ตลาด ร้านค้า และหาบเร่งแผงลอย รับมาตรการของรัฐบาล และ กทม. ในการผ่อนปรนกิจการประเภทอาหาร ในระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โรคโควิด-19 ได้รับการนำเสนอต่อโดยสำนักข่าว Thai PBS ก่อนมาตรการของรัฐจะดีเดย์ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 63 เป็นต้นไป

P-05.JPG

ชีวิตคนเมืองและการอยู่อาศัยหลังโควิด ถึงเวลาออกแบบเมืองแบบใหม่หรือยัง

"จากนี้ไปเมืองคงต้องมีคุณลักษณะ 2 ประการ คือ ในเวลาเปิดเมือง เมืองต้องมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส และในเวลาเกิดโรคระบาด การปิดเมืองก็ต้องไม่ให้คนและเศรษฐกิจบอบช้ำ นั่นคือเมืองต้องปรับให้มีความยืดหยุ่น แข็งแรง และ ฟื้นเร็ว (Resilience)" 

 

หาคำตอบและฟังมุมมองจาก ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ในประเด็น "ชีวิตคนเมืองและการอยู่อาศัยหลังโควิด-19 ถึงเวลาออกแบบเมืองใหม่หรือยัง?" ทางรายการ The Secret Sauce : Executive Espresso พูดคุยกับ คุณเคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร THE STANDARD

P-04.JPG

ผังเมืองแบบไหนจะต่อกรกับโควิด-19

รายการ Voice Go โดย คุณวีรนันต์ กัณหา พูดคุยกับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ในประเด็น เมืองกับโรคระบาด การสัมภาษณ์ครั้งนี้ ผู้อำนวยการ UddC-CEUS ชวนตั้งข้อสังเกตถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในเมืองของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่ล้วนเป็นกรณีศึกษาที่ดีของการออกแบบวางผังเมืองทั้งสิ้น เป็นไปได้หรือไม่ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะนำมาซึ่งการปฏิวัติการวางผังเมืองอีกครั้ง ด้วยเหตุที่ทฤษฎีด้านผังเมืองที่มีในปัจจุบัน อาจยังไม่เพียงพอต่อการออกแบบวางผังเมืองที่สามารถรับมือของโรคระบาดร้ายแรง ตลอดจนความท้าทายใหม่ๆ ของเมือง ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

P-03.JPG

โรคระบาดกับเมือง และความปกติใหม่ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในเมือง

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอัลจาเซียรา ชวนคิดถึงแนวทางการออกแบบวางผังเมืองรองรับโรคระบาดขนาดใหญ่ในอนาคต หลังพบว่าเมืองในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วและมีระบบบริหารจัดการเมืองที่มีประสิทธิภาพ ล้วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์โรคระบาด สะท้อนให้เห็นว่าทฤษฎีด้านผังเมืองที่มีในปัจจุบัน อาจยังไม่เพียงพอต่อการออกแบบวางผังเมืองที่สามารถรับมือของโรคระบาดร้ายแรงได้อีกแล้ว และเชื่อมั่นว่าการระบาดของโรคโควิด-19 จะนำมาซึ่งการปฏิวัติผังออกแบบเมืองในยุคปัจจุบัน ดังเช่นโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดการปฏิวัติการวางผังออกแบบเมืองในยุโรปยุคศตวรรษที่ 19

P-02.JPG

Data มีประโยชน์กับเศรษฐกิจเมืองอย่างไรบ้าง?

คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence บรรยายพิเศษหัวข้อ  การประยุกต์ข้อมูลสารสนเทศเชิงพื้นที่เพื่อการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของเมือง ได้รับความสนใจจากคณาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ (มศว) ร่วมฟังการบรรยายผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์

 

สาระสำคัญส่วนหนึ่งจากการบรรยาย คุณอดิศักด์ ได้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการใช้ข้อมูลเมืองในการแก้ไขปัญหาของเมือง เช่น การใช้ข้อมูลเพื่อผลักดันข้อเสนอในเชิงนโยบาย พร้อมยกตัวอย่างผลงานของทีม UddC Urban Insight ซึ่งสังเคราะห์ข้อมูลที่สามารถสะท้อนปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง และใช้อ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเมืองได้ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลเชิงพื้นที่กับข้อมูลอื่นๆ แปลงจาก information และ data เป็น insight มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานของทีมสถาปนิกผังเมืองและนักวางผังเมือง ในการออกแบบและวางแผนแนวทางแก้ไขปัญหาของเมือง

P-01.JPG

PM 2.5 ไม่จางหาย...ถ้าเมืองยังเดินไม่ได้

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และหัวหน้าโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) ให้สัมภาษณ์หลังการเสวนาสาธารณะ Citizen's Senses of The City ชีวิตคนเมืองในมลภาวะ "อากาศ แสง เสียง" ในประเด็นการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยผู้อำนวยการ UddC-CEUS ได้ย้ำแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัว และส่งเสริม 2 แนวทางสำคัญคือส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับสร้างเมืองเดินได้ที่มีโครงสร้างการเดินเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน และเป้าหมายการเดินในเมืองอย่างมีคุณภาพ

88012821_1829852023814410_88666270667919

กรุงเทพฯ สีเขียว...เขียวที่ว่าเขียวแค่ไหน?

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ให้ข้อมูลกับ Echo เพื่อเดินหน้าผลิตวีดิโอคอนเทนต์ “พื้นที่สีเขียวของเมือง ep.2” โดยขยายความจากคราวก่อน ซึ่ง ผศ.ดร.นิรมล ได้พูดถึงประโยชน์ของพื้นที่สีเขียวที่สามารถสร้างแบรนด์ให้เมือง โดยยกกรณีศึกษาเมืองสิงคโปร์ ที่ใช้พื้นที่สีเขียวเป็นเครื่องมือกระตุ้นการค้าการลงทุน และผลักดันให้สิงคโปร์ก้าวสู่การเป็นเมืองพัฒนาแล้ว พร้อมกับเปรียบเทียบโครงสร้างการบริหารจัดการเมืองสิงคโปร์-กรุงเทพฯ เพื่อชี้ให้เห็นอุปสรรคของการขยายพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ กระทั่งเมืองมีพื้นที่สีเขียวที่คนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์และประกอบกิจกรรมทางกายเพียง 0.88 ตร.ม./คน เท่านั้น

s.JPG

เสวนาสาธารณะ Citizen’s Senses of The City ชีวิตคนเมืองในมลภาวะ “อากาศ แสง เสียง”

ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ / รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการวิจัยคนเมือง 4.0 / ผศ.ดร.จรรยาพร สไตเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและออกแบบการส่องสว่าง (LRIC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี / อ.ขจรศักดิ์ กิตติเมธาวีนันท์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง / คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่ายวิจัย (Urban Intelligence) / กล่าวเปิดงานโดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (CE.US) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UddC-CEUS และหัวหน้าโครงการหน่วยสังเกตการณ์และขับเคลื่อนเมือง / ดำเนินรายการโดย คุณชยากรณ์ กำโชค ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ UddC-CEUS

life-prof.niramon.jpg

โลกใหม่หลังโควิด-19 : เมืองที่ต้องเปลี่ยนไปเพราะไวรัสเข้ามาเปลี่ยนแปลง

โลกใหม่หลังโควิด-19 อาจไม่ได้มีหน้าตาเหมือนเดิมอีกแล้ว สิ่งใหม่ที่กำลังเข้ามาในชีวิตประจำวันของเรา อย่างการ Work From Home การรักษาความสะอาด การใช้ถนนหนทาง ทุกสิ่งจะเปลี่ยนไปหมด โดยจะกลายเป็นความปกติใหม่ในอนาคต ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้แสดงความเห็นถึง ‘อนาคต’ ของ ‘เมือง’ ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเมือง การใช้ชีวิตของผู้คน ตลอดจนการทำงาน รูปแบบที่อยู่อาศัย ไปจนถึงการกระจายอำนาจในเมือง

messageImage_1583134157001.jpg

สัมภาษณ์ ECHO : City in the Garden vs City of Angels

วิสัยทัศน์ผู้นำเป็นอย่างไร สภาพเมืองก็เป็นอย่างนั้น ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ชวนเปรียบเทียบพื้นที่สีเขียวกรุงเทพฯ กับ สิงคโปร์ ศึกษาวิสัยทัศน์ของผู้นำสิงคโปร์ผู้กำเนิดนโยบายสีเขียวตั้งแต่ 50 ปีก่อน จนปัจจุบันเป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียวมากที่สุด
ในโลก นโยบายที่ไม่เพียงมีผลเชิงบวกต่อสุขภาวะคนเมือง หากยังดึงดูดการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจ จนสิงคโปร์ผงาดเป็นประเทศพัฒนาด้วย "แบรนด์สีเขียว" ที่มาก่อนกาล

1.JPG

สัมภาษณ์ Thai PBS "เมืองทำให้เราเปราะบางยกกำลังสอง"

คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)
ฝ่าย Urban Intelligence และผู้จัดการโครงการ เมืองเดินได้ เมืองเดินดี (GoodWalk) ให้สัมภาษณ์รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น ขณะร่วมงานการเสวนาระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน
ครั้งที่ 14 โดยยกผลการศึกษาจากโครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี (GoodWalk) อาทิ มีถนนในกรุงเทพฯ เพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีศักยภาพส่งเสริมการเดินเท้า แม้ว่าคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่สามารถเดินได้ในระยะ 800 เมตร นอกจากนี้ สัดส่วนคนกรุงเทพฯ ที่เลือกใช้รถยนต์เพียงทางเลือกเดียวมีเพียง 31.2% น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนเดินเท้าและเดินทางด้วยรูปแบบอื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วน 68.8% ดังนั้น
ภาครัฐจึงควรลงทุนพัฒนากายภาพเมือง ด้วยการพัฒนาเมืองเดินได้ที่กลุ่มคนเปราะบางในเมือง สามารถใช้งานถนนและทางเท้าได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย

Capture.JPG

บรรยายเสวนา "เมืองทำให้คนเปราะบางยกกำลังสอง"

"เพราะกายภาพของเมืองยังไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองกลายเป็นกลุ่มคนที่
"เปราะบาง" และเมืองที่ขาดการออกแบบอย่างรอบด้านนั้น จึงเป็นเมืองที่เปราะบางสำหรับผู้คน"
คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence และผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี (GoodWalk) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 14 ซึ่งศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนจัดขึ้นภายใต้แนวคิด "เดิน ขี่ ขับ ไป-กลับ ปลอดภัย : Play your part and share the road"

2.JPG

บรรยายเสวนา "เมืองทำให้คนเปราะบางยกกำลังสอง"

3.JPG

สัมภาษณ์ Thai PBS งานสัมมนา: โลกใหม่ เมืองแบบใหม่ : ยกระดับทิศทางการพัฒนาไทยในโลก 4.0

"บอกได้เลยว่า เมืองไหนยังใช้รถยนต์อยู่มาก เมืองนั้นไม่มีอนาคต" ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ให้สัมภาษณ์รายการ วันใหม่ ไทยพีบีเอส ภายหลังการเสวนา Futurising Thailand สร้างอนาคตไทยให้ทันโลก ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึง ความจำเป็นของการสร้าง "เมืองเดินได้" ในยุค "ศตวรรษเมือง" หรือ ศตวรรษที่ประชากรเกินครึ่งโลกอาศัยอยู่ในเมือง และในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโลก กดดันให้เมืองต่างๆ แข่งขันกันมากขึ้น เพื่อดึงดูดแรงงานและบริษัทในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์เข้ามาอยู่อาศัยและทำงานเมือง

4.JPG

สัมภาษณ์ Thai PBS เวิร์คช็อป นักสำรวจเมือง (The Urban Surveyor)

ทีมข่าว Thai PBS ร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ "นักสำรวจเมือง" (The Urban Surveyor) รุ่นที่ 1 พร้อมสัมภาษณ์ คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence ถึงเป้าหมายของกิจกรรม คุณอดิศักดิ์ กล่าวว่า กิจกรรมมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ในเรื่องเมืองและพื้นที่สาธารณะ ตลอดจนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลเปิด (Open Data) ทั้งจากภาครัฐ เอกชน
และประชาชนทั่วไป ซึ่ง Open Data จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้การบริหารจัดการเมืองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5_edited.jpg

สัมภาษณ์ Thai PBS งาน เวที สช.เจาะประเด็น “สานพลังเปลี่ยนเมืองป่วย”

เสวนา สานพลังเปลี่ยนเมืองป่วย โดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หัวข้อ ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมแลกเปลี่ยนหัวข้อ "มองเทศ-มองไทย" กับพิมพ์เขียวเมืองสุขภาพดี : ถอดบทเรียนเมืองสุขภาวะต่างแดนกับความเป็นไปได้ของประเทศไทย ร่วมกับ คุณภารนี สวัสดิรักษ์รองประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ คุณจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ และ คุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย

6.JPG

เสวนา แผงลอยกับเมือง: การจัดการที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

.

7.JPG

สัมภาษณ์ 101OneOnOne EP06 มาร่วมกัน "อ่านเมือง" กับ นิรมล กุลศรีสมบัติ

101OneOnOne EP06 คุณโตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการและคอลัมนิสต์ชื่อดัง ชวน "อ่านเมือง" กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)

8.JPG

บรรยาย เมืองของเรา เรื่องของเรา | นิรมล กุลศรีสมบัติ | TEDxChulalongkornU

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CRUS) และหัวหน้าโครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี (GoodWalk) ร่วมเวที TEDxChulalongkornU สะท้อนวิสัยทัศน์ในการพัฒนาการวางผังเมืองและการสร้างเมืองที่ดี ให้สักวันหนึ่งกรุงเทพฯ กลายเป็น "เมืองเดินได้" ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนเมืองในหลายด้าน พร้อมกันนี้ยังชี้ให้เห็นโอกาสในการพัฒนาของกรุงเทพฯ ที่จะเปลี่ยนพื้นที่นอกบ้านให้เป็นพื้นที่ของทุกคนอย่างแท้จริง

9.JPG

บรรยาย กรุงเทพฯจะเดินได้-เดินดี ได้อย่างไร? | นิรมล กุลศรีสมบัติ | TEDxBangkok

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมขึ้นเวที TEDxBangkok พูดในประเด็น "กรุงเทพฯ จะเดินได้-เดินดี ได้อย่างไร สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่คนกรุงเทพฯ ประสบพบเจอในชีวิตประจำวันเสมออย่างปัญหารถติด เนื้อหาส่วนหนึ่งบนเวที ผศ.ดร.นิรมล ชวนจินตนาการถึงกรุงเทพฯ ที่เดินได้-เดินดี และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในพื้นที่สาธารณะคุณภาพของเมือง

10.JPG

สัมภาษณ์ VOICE TV เมืองทำให้เรา จน อ้วน โสด

กายภาพของเมืองมีผลต่อประชากรผู้อยู่อาศัยอย่างมาก ทั้งจนทั้งอ้วน ซ้ำร้ายยังทำให้ไม่มีแฟนอีกด้วย เป็นเพราะผังเมืองกำหนดพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเราได้ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) พูดคุยกับ คุณลักขณา ปันวิชัย (คำ ผกา) ในรายการ In Her View ทางสถานีโทรทัศน์ Voice TV

11.JPG

ร่วมเสวนา งาน 101 minutes at Starbucks ครั้งที่ 4 : Modern Syndrome

ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมงาน 101 minutes at Starbucks ครั้งที่ 4 : Modern Syndrom โดยกล่าวว่า กรุงเทพฯ ทำให้ "จน อ้วน ไม่มีแฟน" "ไม่มีแฟน"-เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้อยู่บนท้องถนน และอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวตลอด ทั้งบ้าน รถ หรือออฟฟิศ ทั้งยังเป็นเมืองที่แห้งแล้ง ไม่มีอะไรเจริญหูเจริญตา ไม่มีพื้นที่สาธารณะดีๆ ให้จู๋จี๋กัน จะไปจู๋จี๋ก็ต้องไปร้านแพงๆ ขนส่งมวลชนก็แน่นเกินไป "อ้วน"-พอยิ่งต้องตื่นเช้าเพื่อออกจากบ้านไปทำงานให้ทัน ก็ไม่มีเวลาเตรียมอาหารดีๆ ต้องพึ่งอาหารเค็มจัด หวานจัด จากรถเข็นข้างทางหรือร้านสะดวกซื้อ หรือจะไปออกกำลังกายก็ไม่มีพื้นที่สาธารณะใกล้บ้าน โอกาสในการรีดพลังงานส่วนเกินน้อย "จน"-กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่คนมีสัดส่วนการใช้จ่ายเรื่องการเดินทางสูงที่สุดในภูมิภาค ไม่มีพื้นที่สาธารณะให้ออกกำลังกายต้องเสียเงินกับฟิตเนส มลพิษแย่ทำให้เกิดสิว ต้องเข้าคลินิกรักษา อาหารคลีนก็แพง

n6.JPG

บรยาย นิรมล กุลศรีสมบัติ : บ้านที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

มติชนทีวี ร่วมกับ เชลล์ จัดสัมมนา “Powering Progress Together” เปิดมุมมองขับเคลื่อนสู่อนาคตกับสุดยอดกูรูชั้นนำของเมืองไทย โดยให้เกียรติเชิญ ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) อภิปราย เรื่อง นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อบ้านและเมือง

13.JPG

สัมภาษณ์รายการพบหมอรามา ช่วง Rama Health Talk 3 ก.ย.61 : โครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี ส่งเสริมการเดิน

คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence และผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี (GoodWalk) ให้สัมภาษณ์รายการ Rama Health Talk โดยโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในประเด็น “กิจกรรมทางกาย” กับเมืองเดินได้ เมืองเดินดี

14.JPG

สัมภาษณ์ พลิกปมข่าว : ออกแบบเมืองเดินได้เดินดี

คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) ให้สัมภาษณ์รายการพลิกปมข่าว ทางสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ภายหลังจัดกระบวนการร่วมหารือในโครงการ GoodWalk ระยะที่ 3 อารีย์-ประดิพัทธ์ เล่าถึงศักยภาพของย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งร่วมกันแสดงความต้องการในมุมมองของตนเอง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการออกแบบกายเฉพาะที่มีความจำเพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่

15.JPG

งาน เมืองเดินได้ เมืองเดินดี Amarin News Room

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้เริ่ม “โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้น ในการส่งเสริมให้ผู้คนเดินเท้ามากขึ้น ลดการรถยนต์และขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในย่านที่ผู้คนเดินสัญจรด้วย อย่างไรก็ตามความเห็นจากวงเสวนากลับระบุว่า สังคมไทยไม่นิยมการเดิน ติดตามรายละเอียดจาก คุณ อารีรัตน์ สุขรุ่งเรือง

17.JPG

บรรยาย พัฒนา “เมืองไร้วัย” ที่เป็นมิตรต่อคนทุกวัย Employee Dialogue Bangkok 2015

“มีคนเปรียบเทียบว่ากรุงเทพเป็นเมืองที่คนหนุ่มสาวที่มุ่งหน้ามาทำงาน แต่หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร กลับไม่มีผู้สูงวัยออกมาใช้ชีวิต เพราะไม่มีพื้นที่ที่จะอยู่ได้อย่างมีความสุข” ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) บรรยายในประเด็น "เมืองไร้วัย" ที่งาน Dialouge Bangkok 2015

18.JPG

รายการ วัฒนธรรมชุบแป้งทอด : กรุงเทพฯ ใช่เทพสร้าง

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ให้สัมภาษณ์คุณสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม) ผู้ดำเนินรายการ วัฒนธรรมชุบแป้งทอด ตอน กรุงเทพฯ ใช่เทพสร้าง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยอธิบายถึงความสำคัญของการฟื้นฟูเมือง และโอกาสที่เมืองจะได้รับจากการฟื้นฟูเมือง โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านประวัติศาสตร์เก่าแก่ของกรุงเทพฯ

0001.PNG

สัมภาษณ์ โครงการสำรวจเมืองชำเลืองย่าน: คุณต่อ อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้

“สิ่งที่เป็นปัญหาสาธารณะของเมือง ต้องอาศัยการคิดวิพากษ์ข้อมูลที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ ต้องมีการติดอาวุธเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ที่สำคัญคือการมีส่วนร่วม เราจะมีส่วนร่วมอย่างไรในการใช้สื่อเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเมือง” คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence สะท้อนมุมมองจากการดำเนินโครงการสำรวจเมืองชำเลืองย่าน หนึ่งในโครงการที่ร่วมขับเคลื่อนสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ MIDL Week 2018: MIDL for Inclusive Cities สร้างเมืองของทุกคน

20.JPG

สัมภาษณ์ เมืองมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของคน - ปรีชญา นวราช

"เมืองมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของคน" คุณปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ิออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ในฐานะนิสิตเก่าภาควิชาการวางแผนภาคและเมืิอง รุ่นที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นให้ข้อมูลในสื่อประชาสัมพันธ์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนิสิตเก่าภาควิชาฯ รุ่นที่ 5 ตลอดประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนตลอดจนการต่อยอดสู่การศึกษาต่อและวิชาชีพในอนาคต

21.JPG

ภาพบรรยากาศการเปิดตัวโครงการประกวด Asia Young Designer Award 2018

คุณปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Design and Development ร่วมงานเปิดตัวโครงการประกวดออกแบบของนักศึกษาระดับนานาชาติ Asia Young Designer Award 2018 ณ สยามเซ็นเตอร์ พร้อมบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ให้กับนักศึกษาด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ร่วมโครงการด้วย

22.JPG

Highlight “สถาปนิกผังเมืองไทยรุ่นใหม่ - Young Thai Urban Designers”

เป็นปีที่ 2 ที่คุณปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Design and Development ได้ร่วมงานเปิดตัวโครงการประกวดออกแบบของนักศึกษาระดับนานาชาติ Asia Young Designer Award สำหรับปี 2019 จัดขึ้น ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ให้กับนักศึกษาด้านออกแบบที่ร่วมโครงการในหัวข้อ "เมืองเพื่อพรุ่งนี้ City Fore Tomorrow"

23.JPG

งานเปิดตัว Asia Young Designer Awards 2019

เมืองเพื่อวันพรุ่งนี้ City For(e) Tomorrow การออกแบบเมืองให้พร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงจากวิกฤตสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นประเด็นที่คุณปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Design and Development ฝากให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ร่วมโครงการประกวดออกแบบของนักศึกษาระดับนานาชาติ Asia Young Designer Award 2019 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งปีนี้คุณปรีชญาได้ร่วมงานและกล่าวบรรยายเป็นปีที่ 2

thaioublica.PNG

สัมภาษณ์ Thaipublica Interview # โครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หัวหน้าโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) ร่วมให้ข้อมูลสำนักข่าว Thai Publica ในประเด็นโครงการ GoodWalk ร่วมกับ อาจารย์ ดร.พรรสร วิเชียรประดิษฐ์ สาระสำคัญว่า UddC-CEUS ได้ริเริ่มโครงการเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ชั้นในของเมืองให้มีคุณภาพจากปัญหาการสัญจรที่หนาแน่น โดยให้ประชาชนสามารถเดินได้ง่ายขึ้นและเดินมากขึ้น เป็นผลดีต่อภาวะสุขภาพของคนเมืองและเพิ่มคุณภาพชีวิตต่อการอยู่อาศัย เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ภาควิชาผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการกรุงเทพฯ "เมืองเดินได้ เมืองเดินดี" เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ในกรุงเทพฯ ให้ประชาชนสามารถสัญจรด้วยการเดินได้อย่างมีคุณภาพ UddC-CEUS ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพมหานครต่อความสำคัญในการเดินเท้า พบว่า แม้ประชาชนส่วนใหญ่จะพึ่งพาระบบขนส่งสาธารณะและพาหนะส่วนตัวเป็นหลัก แต่การเดินเท้าก็มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 3 คือ ร้อยละ 24.6 ที่ประชาชนยังต้องเดินเท้า การกำหนดยุทธศาสตร์ผังเมืองเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เอื้อต่อการเดินจึงต้องสำรวจวิเคราะห์หาพื้นที่ที่จำเป็นและมีความเหมาะสมต่อการพัฒนา

25.JPG

โครงการ Goodwalk ยูดีดีซี-สสส. ผลักดัน โครงการ "เมืองเดินได้ เมืองเดินดี" เพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนเมือง

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้ริเริ่มโครงการ "เมืองเดินได้ เมืองเดินดี" เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ชั้นในของเมืองให้มีคุณภาพจากปัญหาการสัญจรที่หนาแน่น โดยให้ประชาชนสามารถเดินได้ง่ายขึ้นและเดินมากขึ้น เป็นผลดีต่อภาวะสุขภาพของคนเมืองและเพิ่มคุณภาพชีวิตต่อการอยู่อาศัย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองหรือยูดีดีซี ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ภาควิชาผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการกรุงเทพฯ "เมืองเดินได้ เมืองเดินดี" เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ในกรุงเทพฯ ให้ประชาชนสามารถสัญจรด้วยการเดินได้อย่างมีคุณภาพ ยูดีดีซีได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพมหานครต่อความสำคัญในการเดินเท้า พบว่า แม้ประชาชนส่วนใหญ่จะพึ่งพาระบบขนส่งสาธารณะและพาหนะส่วนตัวเป็นหลัก แต่การเดินเท้าก็มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 3 คือ ร้อยละ 24.6 ที่ประชาชนยังต้องเดินเท้า การกำหนดยุทธศาสตร์ผังเมืองเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เอื้อต่อการเดินจึงต้องสำรวจวิเคราะห์หาพื้นที่ที่จำเป็นและมีความเหมาะสมต่อการพัฒนา

26.JPG

Family News Today | เปิดโครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี |

.

n2.JPG

Urban Heart x GoodWalk

คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence (ฝ่ายวิจัย) และผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว Urban Creature ด้วยหัวข้อการพูดคุย URBAN HEART : GoodWalk เมืองที่ดีเริ่มต้นจากการเดิน "หลายคนรู้ดีว่าการเดินเท้าในกรุงเทพฯ ต้องพกดวงเสียยิ่งกว่าไปออกรบ เพราะต้องคอยหลบกับดักระเบิดบนฟุตปาธ ที่หากเดินไม่ระวังก็อาจตกหลุมตกท่อเจ็บตัวกันมาแล้ว ในขณะที่ต่างประเทศยกให้หัวข้อ เมืองที่เป็นมิตรกับการเดิน เป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาเมือง" พร้อมแนะนำโครงการ GoodWalk “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” แล้วจะเข้าใจว่าเราก็สามารถทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นได้ แค่เริ่มก้าวเท้าออกเดินกันตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่ดีของกรุงเทพฯ

n1.JPG

นักข่าวพลเมือง : กะดีจีน-คลองสาน การพัฒนาเมืองที่มีส่วนร่วม (11 ก.ค. 60)

.

29.JPG

Christine SOLNON Deputy president of the TUBA (Le Tube a experimentations urbaines), LabEx IMU, Lyon, France

Christine SOLNON Deputy president of the TUBA (Le Tube a experimentations urbaines), LabEx IMU, Lyon, France A first key point is to design efficient tools that scale well on real data. A second key point is to design tools that are able to deal with time-dependency, as predicted data depends on time, and uncertainty. Christine Solnon is professor of computer science at INSA de Lyon, and member of the LIRIS lab. She is deputy president of the TUBA, where she leads the scientific orientation board. She has collaborated with the Métropole de Lyon since 2012. In particular, she has been involved, together with IBM, in the Optimod'Lyon project, a 3-year and 7 million euros project which was led by the Grand Lyon from 2012 to 2015.

30.JPG

Opening : Urban Governance in the Network Society: France, Thailand and Japan 2017

ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ นักวิจัยจาก Collegium de Lyon นำกล่าวเปิดงานการประชุมนานาชาติ เรื่อง Urban Governance in the Network Society: France, Thailand and Japan ณ เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส พร้อมด้วยผู้แทนจากประเทศต่างๆ อาทิ Eric CHARMES , Tetsuo KIDOKORO และ ผศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ การประชุมนานาชาติฯ ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนทางวิชาการและประสบการณ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศส ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นการบริหารจัดการเมืองภายใต้ "ธรรมาธิบาลเมือง" และ "เครือข่ายสังคม"

31.JPG

ร่วมรายการ BANGKOK URBAN RACE EP 5 Urban Creature

สองผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ในฐานะผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) กับ คุณแทนศร พรปัญญาภัทร ในฐานะผู้จัดการโครงการสถานีเรือเพื่อทุกคน (The River Station) ร่วมโปรเจกต์ Bangkok Urban Race โดยสำนักข่าว Urban Creature พร้อมกับอธิบายแนวคิดที่มาของทั้ง 2 โครงการ ตลอดจนผลกระทบเชิงบวกที่จะเกิดขึ้นกับเมืองหากโครงสร้างส่งเสริมการเคลื่อนที่ในเมือง เช่น ทางเท้าและสถานีเรือ ได้รับการฟื้นฟูให้เชื่อมต่ออย่างมีคุณภาพ

n8.JPG

เสวนาในหัวข้อ พัฒนา “เมืองสำหรับคน” อย่างไรในสังคมอายุยืน ในงาน TDRI Annual Conference 2019

ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมงาน TDRI Annual Conference 2019 ซึ่งปีนี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดงานภายใต้แนวคิด “สังคมอายุยืน แข่งขันได้ อยู่ดี มีสุข อย่างไร?” โดยผู้อำนวยการ UddC เป็นแขกรับเชิญในเวทีเสวนา หัวข้อ พัฒนา “เมืองสำหรับคน” อย่างไรในสังคมอายุยืน? นำเสนอหลักโดย ดร. สุเมธ องกิตติกุล ทีดีอาร์ไอ และคุณณิชมน ทองพัฒน์ ทีดีอาร์ไอ “เมืองออกแบบได้” คือ สาระสำคัญจากผู้อำนวยการ UddC กล่าวคือ นอกจาก “การออกแบบเมืองที่เป็นมิตรกับคนสูงวัย” ซึ่งเป็นมาตรฐานการออกแบบอาคารและพื้นที่สาธารณะทั่วโลก หากสิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ การออกแบบเมืองสำหรับคนที่ยังไม่แก่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนเหล่านี้แก่อย่างมีคุณภาพ (Active Ageing) เมืองจำเป็นต้องสร้าง “วัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ดี” ที่ส่งเสริมให้คนสะสม “ทุนสุขภาพ” ไว้ใช้ตอนแก่ ด้วยการพัฒนาทางเท้าและพื้นที่สาธารณะสำหรับส่งเสริมสุขภาวะ

n9.JPG

เสวนาในหัวข้อ "พัฒนาพื้นที่ไทย : เชื่อมไทย ก้าวไกล เชื่อมโลก" ในการประชุมประจำปี 2562 เรื่อง "พัฒนาพื้นที่ไทย : เชื่อมไทย ก้าวไกล เชื่อมโลก"

ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมเสวนาในการประชุมประจำปีของสภาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประจำปี 2562 "พัฒนาพื้นที่ไทย: เชื่อมไทย ก้าวไกล เชื่อมโลก" ร่วมกับ ศ.พิเศษ ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สศช. คุณกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ณ อิมแพ็คฟอรัม เมืองทองธานี ผู้อำนวยการ UddC กล่าวว่า การสร้างสภาพแวดล้อมเมืองส่งเสริมการเดินเท้าให้เมืองเดินได้เดินดี เป็นเครื่องมือสร้างการเชื่อมโยง (Connectivity) ในระดับเมือง ส่งผลดีโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของเมืองและประเทศ โดยเฉพาะในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกลงทุนของบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ หรือการเดินทางเข้ามาทำงานของแรงงานทักษะขั้นสูง คือสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพของเมือง นอกจากนี้ จากเป้าหมายของ สศช. ที่ต้องการเพิ่มรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศจาก 20% เป็น 30% นั้น ผศ.ดร. นิรมล กล่าวว่า การสร้างเมืองเดินได้เดินดีจะช่วยให้ประเทศพ้นกับดักรายได้ท่องเที่ยวปานกลาง จากบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูง

n10.JPG

เสวนา "The World's Street Food Capital - ทางเดินที่ใช่...อาหารที่ชอบ" ในการสัมมนาเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยและวิชาการท่องเที่ยว ปี 2562 เรื่อง Food Forward

ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) บรรยายพิเศษหัวข้อ "The World's Street Food Capital - ทางเดินที่ใช่...อาหารที่ชอบ" ภายในงาน Food Forward การสัมนนาการสร้างเครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยการตลาดท่องเที่ยวปี 2562 มีสาระสำคัญว่า แผงลอยเป็นเหรียญสองด้านของเมืองคือมีทั้งบวกและด้านลบ แผงลอยมีบทบาทเป็นแหล่งจำหน่ายอาหารราคาถูก เป็นแหล่งดูดซับการว่างงานของประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งยังมีความเหลื่อมล้ำสูง และการพัฒนายังกระจุกตัวในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ ยังเป็นเสน่ห์ดึงดูดการท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกันแผงลอยก่อความไม่ปลอดภัยและความสกปรกให้กับเมือง เนื่องจากจากเมืองไม่ถูกออกแบบให้ส่งเสริมกิจกรรมการค้าขายข้างทาง ดังนั้น เมืองจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ เช่น การออกแบบวางผังเมือง จัดกระบวนการร่วมหารือในระดับย่าน และบูรณาการการทำงานกับนโยบายในภาพใหญ่ เพื่อให้แผงลอยสามารถอยู่ร่วมกับเมือง และเป็นโอกาสของเมือง ตามที่หลายฝ่ายต้องการให้เห็นกรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งสตรีตฟู้ดระดับโลก

n11.JPG

MIDL Week 2018: MIDL for Inclusive Cities สร้างเมืองของทุกคน

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) บรรยายหัวข้อ "สำรวจเมือง ชำเลืองย่าน ผ่านมุมมองใหม่ กับ ฅ.ฅน ต้นคิด ชุด "ฅ.ฅน ต้นเรื่อง” ส่วนหนึ่งของเทศกาล MIDL Week 2018: MIDL for Inclusive Cities สร้างเมืองของทุกคน ซึ่งคณะผู้จัดการจัดขึ้นเพื่อ

n12.JPG

ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผอ.UddC : คุยเรื่องเมืองกับความเหงาและปัญหาเศร้าๆ ของคนกรุง

"กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนเหงา มากกว่าเสาไฟฟ้า" ประโยคสุดคลาสสิคจากภาพยนตร์ 'หมานคร' กับความเหงาที่อยู่คู่กับคนกรุงที่ดูจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็นคำถามที่ว่าทำไมคนในเมืองถึงชอบเหงากันนัก และปัญหาใหญ่ที่คนในเมืองเทพสร้างแห่งนี้ต้องเจออยู่ทุกวันคืออะไร แล้วเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ไหม ซึ่ง ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผอ.UddC อาจช่วยตอบคำถามนี้ให้กับคนเมืองกรุงได้

n13.JPG

“ความเหลื่อมล้ำในมิติผังเมือง” : ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ

ซี่รี่ส์สัมมนาชุด "ความเหลื่อมล้ำหลากมิติ" หัวข้อ “ความเหลื่อมล้ำในมิติผังเมือง” โดย ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย อาจารย์พลอย ธรรมาภิรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2562 เวลา 13.30 - 15.30 น. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Faculty of economics, Thammasat University, Thailand

n14.JPG

สมดุลระหว่างการพัฒนาเมือง และการรักษาเมืองเก่า

พบกับ ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมพูดคุยถึงประเด็นการพัฒนาเมืองกับการรักษาสมดุลทางสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมแค่ไหนจึงจะเรียกว่าพอดี ?

n15.JPG

สร้างโอกาสจากความเป็นเมือง: Urbanization“Opportunities from the Urban Sprawl”

สร้างโอกาสจากความเป็นเมือง: Urbanization“Opportunities from the Urban Sprawl” Part4 Synopsis: เมืองเปลี่ยน พฤติกรรมคนเปลี่ยน ผุดโอกาสทางธุรกิจจากการขยายตัวของเมือง โดย ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อานวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center: UDDC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หัวหน้าโครงการฟื้นฟูเมือง อาทิ “ริมน้ำยานนาวา” และ "กรุงเทพฯ 250"

n16.JPG

20 ปี เพื่อ 24 ตร.ม. ...ชีวิตดีๆทีใครกำหนด Root talk & Music

ลูกแก้ว โชติรส, จักรชัย โฉมทองดี, ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติและวิภาพร วัฒนวิทย์ ในงาน Root talk & Music " 20 ปี เพื่อ 24 ตร.ม. ...ชีวิตดีๆทีใครกำหนด " วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558 

n17.JPG

Futurising Thailand สร้างอนาคตไทย ให้ทันโลก#3 “โลกใหม่ เมืองแบบใหม่:ชีวิตความเป็นอยู่คนไทยในโลก 4.0”

งานสัมมนา: โลกใหม่ เมืองแบบใหม่ : ยกระดับทิศทางการพัฒนาไทยในโลก 4.0 :: เทรนด์การเป็นเมือง (urbanization) คือเทรนด์ที่ทรงพลังมากที่สุดในศตวรรษที่ 21 การขยายตัวของเมืองใหญ่-เล็กทั่วโลก ไม่เพียงแต่สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลเท่านั้น หากแต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวกอย่างสำคัญ อย่าางไรก็ตาม ดอกผลของการขยายตัวของเมือง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอัตโนมัติ หากเราปล่อยไปตามยถากรรม นอกจากความเป็นอยู่ของเราเท่านั้นที่จะย่ำแย่แล้ว เรายังเสียโอกาสที่จะใช้ศักยภาพของเมืองอย่างน่าเสียดาย ร่วมสำรวจความท้าทายของการพัฒนาเมืองในโลก 4.0 เพื่อตอบคำถามว่า เมืองจะมีบทบาทในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างไร ต้องทำแบบไหนเมืองจึงจะเป็นเมืองที่ฉลาด ยั่งยืน และนับรวมทุกคน วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2562 เวลา 08.30 – 12.15 น. ณ ห้องประชุมแกรนด์ นันทา โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่

bottom of page