top of page

GREENER BANGKOK
เมื่อกรุงเทพฯ จะเป็นเมืองสีเขียว 15 นาที

TOP GREEN

เมื่อกรุงเทพฯ จะเป็นเมืองสีเขียว 15 นาที
เมือง 15 นาที ไม่ใช่เพียงวาทะกรรมทางการเมือง หากแต่เป็นนโยบายที่เมืองหลายเเห่งทั่วโลก กำลังกล่าวถึง ว่าด้วย “เมืองที่ใช้เวลาในการเดินทาง 15 นาที สู่จุดหมายปลายทางในชีวิตประจำวัน”

แล้วกรุงเทพฯ จะเป็นเมืองสีเขียว 15 นาที
ได้จริงหรือ ?

หากพูดถึงพื้นที่สีเขียวในเมือง ไม่เพียงแค่เป็น “สีเขียว” ของเมืองเท่านั้น หากแต่ คือ…

  • พื้นที่ส่งเสริมสุขภาวะของประชาชน

  • พื้นที่ส่งเสริมระบบนิเวศน์เมืองและการเรียนรู้

  • พื้นที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและความมั่นคงปลอดภัยทางอาหาร

  • พื้นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจของย่าน

ปัจจุบันกรุงเทพฯเป็นเมืองที่…

01_NOW.png

เขียวน้อย:
ปัจจุบัน กรุงเทพมีพื้นที่สีเขียวต่อคนอยู่ที่
7.6 ตารางเมตรต่อคน

02_GREEN CM 60 MIN.png

เขียวไกล:
ระยะทางเฉลี่ยในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวที่ใกล้ที่สุดคือ 60 นาที หรือประมาณ 4.5 กิโลเมตร

03_DENSITY.png

เมืองหนาแน่น:
พื้นที่เมืองชั้นในและเมืองชั้นกลาง
มีจำนวนประชากรที่หนาแน่น
เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนในเมือง

ด้วยสถานการณ์ด้านพื้นที่สีเขียวของเมืองเช่นนี้ คำถามสำคัญก็คือ
จะทำอย่างไรให้ สวน 15 นาทีนี้ เกิดขึ้นจริงได้ ? 

  • จะเอาที่ดินมาได้อย่างไร 

  • จะต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ 

  • จะเอางบประมาณมาจากไหน 

  • จะทำที่ไหนก่อน-หลัง 

ยิ่งไปกว่านั้น ยังเต็มไปด้วยข้อจำกัดเรื่องอำนาจและมาตรการต่าง ๆ รวมถึงมาตรการทางภาษี ซึ่งเป็นความท้าทายของการพัฒนาสวน 15 นาที ในพื้นที่เมืองที่มีราคาที่ดินสูงอย่างกรุงเทพมหานคร ลำพังเพียงมาตรการทางภาษีอย่างเดียวไม่สามรถสร้างเเรงจูงใจได้มากพอที่จะทำให้มีการพัฒนา หรือยกที่ดินของเอกชนในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะของเมืองได้

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ UDDC ร่วมกับหน่วยงานภาคีที่หลากหลาย ทั้งทางภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่กรุงเทพร่วมกัน แฮค! กรุงเทพ เพื่อเมืองที่เขียวกว่า ผ่านกิจกรรม GREENER BANGKOK HACKATHORN 2022 เพื่อหาวิธีให้คนกรุงเทพ เข้าถึงพื้นที่สีเขียวใน 15 นาที

แฮคเพื่อ ?

การแฮคในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างทางเลือกใหม่
ลดขั้นตอนการดำเนินการแบบเดิม ๆ หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สู่โอกาสในการสำเร็จและเกิดขึ้นจริง การแฮคในครั้งนี้ จึงไม่จำกัดเพียงการออกแบบ
โดยกลุ่มสถาปนิกเท่านั้น แต่ต้องการความรู้
ความเชี่ยวชาญจากหลากหลายศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางผังเมือง มาตรการทางกฎหมาย หรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์

UDDC เสนอบันได 6 ขั้น ในการได้มาซึ่งสวน 15 นาที ประกอบด้วย 

1
การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน 

2
การหาที่ดินศักยภาพ

012B_6 Steps.png
012C_6 Steps.png

3
การประเมินความเหมาะสมและ
ารมีกลไกสร้างความเป็นไปได้ 

012D_6 Steps.png

4
การออกแบบและดำเนินการก่อสร้าง

012E_6 Steps.png

5
การดูแลรักษาและบริหารจัดการ

6
การติดตาม ควบคุม
และประเมินผล

012F_6 Steps.png

ซึ่งตลอดทั้ง 6 ขั้นตอนนี้
จะดำเนินการผ่านการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วน

มาลองดูความเป็นไปได้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้
กรุงเทพฯ เป็น เมืองเขียว 15 นาที กัน

05_STEP 1.png

ขั้นที่ 1
หากกรุงเทพฯ จะพัฒนาพื้นที่สีเขียวให้ได้ตามมาตรฐาน WHO ที่กำหนดไว้ที่ประมาณ 9 ตารางเมตรต่อคน
จะต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใต้ทางด่วน และพื้นที่โล่งว่างตามผังเมืองรวมให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะ

06_STEP 2.png

ขั้นที่ 2
หากเพิ่มพื้นที่วัด ศาสนสถาน สถานที่ราชการ
พื้นที่สนามกอล์ฟในเมือง รวมถึงการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ทหารในการเป็นพื้นที่นันทนาการสีเขียว เมืองกรุงเทพ
ก็จะมีพื้นที่สี
เขียวต่อหัวประชากรเทียบเท่ากับเมืองปารีส ที่ประมาณ 13.4 ตารางเมตรต่อคน

07_STEP 3.png

ขั้นที่ 3
หากเพิ่มพื้นที่ริมถนนสายหลัก/สายประธาน
ตามมาตราการทางผังเมืองที่กำหนดพื้นที่ถอยร่น
ตามแนวถนนเป็นพื้นที่สีเขียว และปรับเปลี่ยนพื้นที่หลังคาอาคารขนาดใหญ่จากพื้นที่ดาดเเข็งสีน้ำตาล ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวบนหลังคา ดังเช่นนโยบายของหลายเมืองที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ เมืองกรุงเทพจะมีพื้นที่สีเขียวเทียบเท่าเมืองลอนดอน ที่ 18.9 ตารางเมตรต่อค

แต่ที่น่าเศร้าก็คือ...
เเม้ว่าเราจะพยายามถึงขนาดนี้แล้ว
พื้นที่สวนสาธารณะสีเขียวในเมืองอยู่ใน
ระยะที่เข้าถึงเฉลี่ยเพียง 30 นาทีเท่านั้น

แต่ที่น่าเศร้าก็คือ...
เเม้ว่าเราจะพยายามถึงขนาดนี้แล้ว
พื้นที่สวนสาธารณะสีเขียวในเมืองอยู่ใน
ระยะที่เข้าถึงเฉลี่ยเพียง 30 นาทีเท่านั้น

แต่จากข้อเสนอแนวทางการออกแบบและความเป็นไปได้กว่า

66
ข้อเสนอ

จาก
90
ทีม

ทำให้ได้โอกาสในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวรูปแบบใหม่ ๆ ทั้งในพื้นที่ของรัฐ กึ่งรัฐ และที่ดินเอกชน อีกกว่า 21 ความเป็นไปได้
อาทิ ในพื้นที่ราชพัสดุ พื้นที่โรงเรียน 
พื้นที่ริมทางรถไฟ พื้นที่ระบบขนส่งสาธารณะ พื้นที่สะพานลอย พื้นที่ซอยตัน หรือในพื้นที่ธนาคารสาขา พื้นที่ร้านสะดวกซื้อ
หรือสวนกระถางเคลื่อนที่

จากความเป็นไปได้ดังกล่าว ตามข้อเสนอของ GREENER BANGKOK HACKATHON 2022

ในที่ดินของรัฐ
จากการเพิ่มพื้นที่ราชพัสดุ พื้นที่โรงเรียน พื้นที่ศูนย์-สาธารณสุขชุมชน พื้นที่ริมทางรถไฟ พื้นที่สะพานลอย และพื้นที่ซอยตัน จะทำให้กรุงเทพมีพื้นที่สีเขียวสาธารณะกว่า 20.2 ตารางเมตรต่อคน

020_Step 4.png

และหากเพิ่มความเป็นไปได้ในที่ดินเอกชน
อาทิ พื้นที่เอกชนรกร้าง พื้นที่ลานจอดรถ ธนาคารสาขา ร้านสะดวกซื้อ พื้นที่ระหว่างรั้ว พื้นที่ว่างตามกฎหมายอาคาร พื้นที่ระเบียง พื้นที่เขียวในอาคาร และสวนกระถางเคลื่อนที่ กรุงเทพจะมีพื้นที่สีเขียวสาธารณะ
กว่า 24.5 ตารางเมตรต่อคน

021_Step 5.png

ดังนั้น หากดำเนินการตามข้อเสนอทั้ง 66 ข้อเสนอที่กล่าวข้างต้น คนกรุงเทพฯ จะมีค่าเฉลี่ยการเข้าถึงพื้นที่สวนสาธารณะที่ใกล้ที่สุดเพียงแค่ 800 - 1000 เมตร และนั่นคือระยะเวลา 15 นาที

เเต่เรื่องราวของการทำกรุงเทพฯ
ให้เป็นเมืองสีเขียว 15 นาที ยังไม่จบเพียงแค่นั้น
เพราะคำถามสำคัญ
กว่า คือ
เราจะทำตามข้อเสนอได้อย่างไร ?

มาลองดูความเป็นไปได้ในการดำเนินการกัน

GREEN IMPLEMENTATION
11_GREEN SEVICE 01.png

นี่คือขอบเขตการให้บริการพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ท่านจะเห็นว่าพื้นที่บริเวณเมืองเก่า เกาะรัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางเมือง อย่าง ปทุมวัน บางรัก สาทร สีลม มีพื้นที่สีเขียวที่สามารถเข้าถึงได้อย่างครอบคลุม

จากข้อมูลชุดนี้ทำให้เราคนกรุงเทพ ได้ทราบว่า
ปัจจุบันนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กว่า 1500 ไร่นี้
มีพื้นที่เพียง 17 % เท่านั้น ที่ถือได้ว่าเป็นพื้นที่สีเขียว 15 นาที
นั่นหมายถึง สามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ในระยะเวลาเดินเท้า
และหมายความถึง ยังมีพื้นที่ที่รอดำเนินการอีกกว่า 83%
ทั่วกรุงเทพมหานคร

30_Newpark  Priority.png

เพื่อที่จะทำให้นโยบายสวน 15 นาที ของเมืองกรุงเทพสัมฤทธิ์ผล

เพื่อเปลี่ยนเมืองกรุงเทพ
จากพื้นที่สีเขียว
7.6 ตาร
างเมตรต่อคน เป็น 24.5 ตารางเมตรต่อคน

และจากเมืองสีเขียว 60 นาที เป็นเมืองกรุงเทพ สีเขียว 15 นาที

ต้องอาศัยกำลังจากพลเมืองทุกคน
เข้ามามีส่วนร่วมและขับเคลื่อนให้เมืองของเราน่าอยู่ต่อไป

สนับสนุนโดย
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ดำเนินการโดย
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC)
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โครงการ Greener Bangkok Hackathon 2022: แฮคกรุงเทพเพื่อเมืองที่เขียวกว่า เพื่อขับเคลื่อนเมืองของเราให้เขียวกว่าที่เคย
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการ Greener Bangkok Hackathon 2022: มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ / สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ / กระทรวงพลังงาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย / สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) / ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) / บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด / บริษัท ภิรัชบุรี จำกัด / ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค / บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด / บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

bottom of page